ปวดหลังออฟฟิศซินโดรม มีผลเสียอย่างไรกับร่างกายบ้าง

เนื้อหาบทความ

เมื่อพูดถึงโรคที่มักเป็นกันในวัยทำงานและเป็นอาการที่กำลังฮิตอยู่ในทุกวันนี้ ก็คงจะเป็นโรค ปวดหลังออฟฟิศซินโดรม ซึ่งมีผู้ป่วยมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป แม้เป็นอย่างนั้น ก็สามารถรักษาอาการให้โรคนี้หายได้เนื่องจากวงการแพทย์สมัยใหม่มีหลายวิธีการรักษา ไม่ว่าจะเป็นการทานยา การฝังเข็ม การทำกายภาพบำบัด หรือวิธีการอื่นอีกมากมายเพื่อไม่ให้เกิดสภาพเรื้อรัง บทความนี้จะมาพูดถึงอาการปวดหลังและวิธีแก้ไขว่าควรทำอย่างไรบ้าง


ปวดหลังออฟฟิศซินโดรม มีอาการและสาเหตุอย่างไรบ้าง

ปวดหลังออฟฟิศซินโดรม

การนั่งทำงานนาน  ๆ รวมกับความเครียดที่มีผลต่อลำไส้แล้ว ยังส่งผลให้เกิดโรคปวดหลังในวัยทำงานที่หลายคนนิยมเป็นนั่นก็คือ ปวดหลังออฟฟิศซินโดรม ถูกจัดอยู่กลุ่มของอาการเยื่อพังผืดและปวดกล้ามเนื้อ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อมัดเดิมถูกใช้ซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ผลที่ตามมาก็คือกล้ามเนื้ออักเสบ อวัยวะส่วนอื่นปวดเมื่อย ไม่ว่าจะเป็นหลัง แขน บ่า คอ ไหล่ หรือข้อมือก็ปวดด้วยเช่นกัน ถ้าใครพบว่าอาการปวดเหล่านี้เกิดขึ้นกับตนเองแต่ไม่ได้รักษาอย่างทันท่วงที อาการเหล่านั้นอาจลุกลามและหนักลงจนเป็นโรคเรื้อรังได้ คนที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่แล้วเป็นกลุ่มที่ทำงานหน้าคอม มือถือ หรือออฟฟิศ แล้วไม่ได้ขยับร่างกายส่วนอื่น ๆ นอกจากช่วงบน จึงทำให้มีอาการปวดเมื่อยเรื้อรัง จนบางครั้งทำให้ลุกลามไปถึงอาการปวดหัวจนนอนไม่หลับในที่สุด สำหรับอาการออฟฟิศซินโดรมที่หลายคนเป็นนั้นจะมีดังนี้

  • ปวดกล้ามเนื้อแค่เฉพาะส่วน ซึ่งคุณไม่อาจระบุถึงตำแหน่งได้แน่ชัด ทั้งการปวดตรงสะบัก ไหล่ และคอ
  • วิงเวียนศีรษะและปวดแบบเรื้อรัง บางคนมีการปวดไมเกรนร่วมเข้าไปด้วย สาเหตุก็มักเกิดขึ้นมาจากการใช้สายตาจ้องหน้าคอมมากไปในเวลานาน ๆ และความเครียดสะสม
  • อาการปวดหลัง เกิดจากการที่นั่งทำงานหน้าคอมนานหลายชั่วโมงติดต่อกัน ซึ่งวิธีนั่นไม่ได้ถูกสรีระเสียทีเดียว คนที่นั่งหลังค่อมจะมีผลให้กล้ามเนื้อบริเวณต้นคอยึดเกร็งและเมื่อยล้าอยู่ตลอด ไม่เพียงเท่านั้น ผู้หญิงยืนทำงานออฟฟิศแล้วใส่ส้นสูงเป็นเวลานานก็ทำให้มีอาการออฟฟิศซินโดรมได้ด้วย
  • อาการเส้นประสาทบริเวณข้อมือถูกทับ โดยจะเกิดมาจากการอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ ส่งผลให้เส้นเลือดดำโดนกดทับแล้วทำให้เลือดมีการไหลเวียนผิดปกติ อาการที่ตามมาคือชาและปวดที่แขน ฝ่ามือ หรือนิ้วมือ
  • มีอาการพร่ามัวที่ดวงตา เกิดขึ้นจากการใช้สายตาจ้องหน้าคอมนาน ๆ แล้วไม่ได้พักจนตาแห้งและมองเห็นไม่ชัดเจน หลังจากนั้นอาการปวดหัวก็ตามมาได้เมื่อใช้ตาหลายครั้ง
  • อาการปวดข้อมือ นิ้วล็อค มือชา สาเหตุก็คือการจับเมาส์ท่าเดิมนาน ๆ ซึ่งทำให้เส้นเอ็น ปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่นิ้วมือหรือมือ กล้ามเนื้อ เกิดการอักเสบ ไม่ใช่แค่นั้นยังทำให้มือชา และเกิดขึ้นจากพังผืดกดทับเส้นประสาทด้วย

มีวิธีรักษาและป้องกันอาการอย่างไรบ้าง

ปวดหลังออฟฟิศซินโดรม

คนที่เป็นโรคหลังออฟฟิศซินโดรมล้วนมาจากพฤติกรรมของตนเอง ซึ่งข้องเกี่ยวกับระบบกระดูก ประสาท และกล้ามเนื้อ จะแก้ไขหรือรักษาแค่วิธีเดียวไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องหาจากหลายสาเหตุแล้ววางแผนการรักษาหลายด้าน โดยสามารถกล่าวได้ดังนี้

1. รักษาด้วยกายภาพบำบัดจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู

ทีมแพทย์ที่เน้นรักษาโรคนี้จะมีความเชี่ยวชาญและเข้าใจเรื่องการหาสาเหตุของอาการแล้วทำการวางแผนรักษา ไม่ว่าจะเป็นกายภาพบำบัด การใช้ยา ใช้เครื่องมือแพทย์บำบัดอาการ และการจัดสมดุลโครงสร้างทางด้านร่างกายด้วยการประเมินอย่างเหมาะสม

2. เทคโนโลยีและอุปกรณ์การแพทย์

ใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์การแพทย์และมีความข้องเกี่ยวกับอาการออฟฟิศซินโดรมซึ่งก็อาจใช้วิธีการต่าง ๆ ในการตรวจเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็น MRI, X-ray, Electrodiagonsis แต่ก็อยู่ที่ความรุนแรงและอาการของโรคด้วย

3. คลื่นกระแทกช็อคเวฟ

เป็นคลื่นที่ใช้สำหรับกระแทกกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวด โดยจะช่วยกระตุ้นเนื้อเยื่อเพื่อสร้างเสริมและซ่อมแซม อีกทั้งลดอาการปวดกล้ามเนื้อ คนไหนปวดกระดูก ข้อ เส้นเอ็น และระบบกล้ามเนื้อแบบเรื้อรัง วิธีนี้ก็เหมาะเอามารักษาอย่างยิ่ง

4. เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า

เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ช่วยลดอาการชา อักเสบ และปวดบริเวณระบบประสาท ซึ่งมาจากการกระตุ้นของแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อการทำงานของปลายประสาทที่ดียิ่งกว่าเดิม

5. ใช้ความเย็นจัดในการรักษา

เป็นการกระตุ้นร่างกายให้ระบบการทำงานต่าง ๆ ตอบสนองกับความเย็นจัดจนถึงระดับ -110 องศาเซลเซียสภายใน 3 นาที ซึ่งกระตุ้นให้ร่างกายต่อสู้กับความเครียดและความเจ็บปวด

6. การใช้เทคโนโลยีจัดกระดูกสันหลัง

ทุกวันนี้มีเตียงสำหรับจัดกระดูกสันหลังแบบสามมิติที่สามารถหมุนได้ ช่วยทำให้การจัดกระดูกของคนมีปัญหาเรื่องกระดูกสันหลังคดนั้นมีประสิทธิภาพ และเป็นอุปกรณ์ที่เหมาะอย่างยิ่งกับผู้มีอาการปวดหลังเรื้อรัง


การรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมที่มีหลากหลายวิธีนั้นเป็นผลดีอย่างยิ่งกับคนที่ปวดหลังเรื้อรัง อันเนื่องมาจากการนั่งทำงานหน้าคอมหรือในอิริยาบถต่าง ๆ เป็นเวลานานเกินไป ซึ่งมีผลเสียที่ทำให้สุขภาพเสื่อมโทรมและเกิดความเครียด ฉะนั้น หากเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมก็จะบรรเทาอาการปวดของตน หรือบางคนอาจหายจากโรคนี้เลยก็ได้


วิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงานเพื่อลดความเสี่ยง

ปวดหลังออฟฟิศซินโดรม

สำหรับการเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการออฟฟิศซินโดรม สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการบริหารร่างกายซึ่งก็จะช่วยบรรเทาไม่ให้มีอาการปวดหลังหนักขึ้นกว่าเดิม ส่วนใหญ่ใช้เพื่อลดการปวดที่กล้ามเนื้อคอ สะบัก ไหล่ หน้าท้อง แขน หน้าอกและคอ วิธีง่าย ๆ คือ

  • ขณะทำงานให้ยืดกล้ามเนื้อเป็นระยะ แบ่งการยืดออกเป็นกล้ามเนื้อส่วนบน และส่วนล่าง แต่เน้นบริเวณที่ปวดอยู่บ่อย ๆ
  • ใช้ครีมแก้ปวดนวดกล้ามเนื้อให้ผ่อนคลาย อาจจะทายยาแก้ปวดหรือแปะแผ่นเจลประคบลงไปด้วย

ที่กล่าวมานี้เป็นแค่การบรรเทาอาการปวดเท่านั้น หากต้องการรักษาที่ต้นเหตุแล้วได้ผลอย่างยั่งยืน จะมีคำแนะนำต่าง ๆ ที่ผู้ป่วยควรรู้และนำมาใช้ ซึ่งกล่าวได้ดังนี้

  • ปรับสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมการทำงาน ทั้งการกำหนดเวลาพัก แนะนำว่าให้พักทุก 2 ชั่วโมงหรืออาจจะเร็วกว่านั้น การลุกมาบริหารกล้ามเนื้อหรือออกมาเคลื่อนไหว ปรับท่าทางไม่ให้อยู่ในท่าหนึ่งท่าใดนานเกินควร สิ่งสำคัญเลยก็คือการเลือกเก้าอี้และโต๊ะที่เหมาะกับสรีระ ปรับการนั่งและท่านั่งให้อยู่ในระดับที่ถูกต้อง จอคอมอยู่ระดับสายตา ไม่เงยหรือก้ม นั่งหลังตรง ขณะทำงานไม่ยกไหล่ขึ้น เพราะจะทำให้รู้สึกเมื่อยล้าได้
  • หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ ซึ่งมีอยู่หลายวิธี ได้แก่
  • ออกกำลังกายด้วยการสร้างกล้ามเนื้อบริเวณที่ใช้เคลื่อนไหวให้แข็งแรงและยืดหยุ่น ตัวอย่างเช่น การก้ม-เงย การหมุน และสร้างกล้ามเนื้อที่ส่วนกลางลำตัว สามารถทำได้โดยการออกกำลังกายในรูปแบบของพิลาทิส ซึ่งช่วยให้กระดูดสันหลังยืดหยุ่นและลดอาการบาดเจ็บอันเกิดจากท่านั่งของคุณ
  • ออกกำลังกายและบริหารแบบยืดเหยียด จะทำให้ส่วนต่าง ๆ ของกล้ามเนื้อสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างปกติ ลดความเมื่อยล้าและอาการตึงกล้ามเนื้อ
  • เล่นคาร์ดิโอ ยกตัวอย่างคือ ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ วิ่ง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการหมุนเวียนโลหิต เสริมสร้างกล้ามเนื้อที่ใช้เคลื่อนไหวให้แข็งแรงมากกว่าเดิม ทำให้ข้อยึดและเอ็นยืดหยุ่น

ใครที่ยังคงมีอาการอยู่หลังจากที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ทั้งอาการปวดหัวจนหลับไม่ได้ แขนขาอ่อนแรง ปวดเรื้อรัง บางคนมีภาวะหรือสาเหตุอื่นแทรกซ้อนเข้ามา แนะนำว่าให้พบแพทย์ทันทีแล้วหาสาเหตุให้ชัดเจน เมื่อตรวจแล้วเป็นอาการของออฟฟิศซินโดรม ให้รักษากับแพทย์ทางเลือกที่เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู


จากบทความนี้ทำให้คุณผู้อ่านทุกท่านได้รู้จักเกี่ยวกับอาการ ปวดหลังออฟฟิศซินโดรม ซึ่งเป็นโรคชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนโดยเฉพาะวัยทำงาน เมื่อปล่อยไปเรื่อย ๆ ก็จะส่งผลให้เกิดการปวดหลังแบบเรื้อรังได้ จึงทำให้ต้องมีวิธีรักษาแบบบูรณาการที่หลากหลาย ผู้ป่วยแต่ละคนสามารถนำวิธีเหล่านี้มาปรับใช้ให้เหมาะกับอาการของตนเองได้


อ้างอิง