โรควิตกกังวลอันตรายมั้ย ? มีแนวทางการรักษาอย่างไรบ้าง

เนื้อหาบทความ

โรควิตกกังวลอันตรายมั้ย ? มีแนวทางการรักษาอย่างไรบ้าง

ปัญหาที่รุมเร้า ก่อให้เกิดความเครียด ความเครียดก่อให้เกิดความกังวล ซึ่งนำมาสู่โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงถึงโรคร้ายแรงได้ ซึ่งในปัจจุบันสภาพแวดล้อมทางสังคม การแข่งขัน เศรษฐกิจ อาชีพการทำงาน ทุกอย่างนั้นล้วนแล้วแต่เป็นช่องทางที่ไม่ราบรื่น ยิ่งไปกว่านั้นช่วงเวลาการระบาดของโรค Covid-19 ยังทำให้หลาย ๆ คนต้องประสบพบเจอกับเรื่องที่ยากที่สุดในชีวิตด้วย อีกทั้งมีบางคนกลายเป็นโรควิตกกังวลด้วยนั่นเอง โดยโรคนี้ยังเป็นหนทางที่นำไปสู่อาการซึมเศร้า อีกทั้งยังแบ่งออกเป็นหลายประเภท ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลต่อการดำรงชีวิตโดยตรง เพราะคุณจะความผิดปกติทางความคิด รวมทั้งความมั่นใจที่ขาดหาย แต่สำหรับใครที่เข้าข่ายเป็นโรคนี้ หรือมีเพื่อน พี่ น้อง ประสบปัญหานี้อยู่ บอกเลยว่าโรคนี้ไม่อันตราย แต่จะต้องดูแลรักษาให้ถูกวิธี พร้อมทั้งมีการช่วยเหลือ ความเข้าใจในโรคที่เป็น แล้วจะทำให้คุณใช้ชีวิตกับผู้ป่วยได้ง่ายขึ้น สำหรับในบทความนี้พวกเราจะรวบรวมเรื่องราวทั้งหมดของโรควิตกกังวล โรควิตกกังวลอันตรายมั้ย ตั้งแต่สาเหตุ อาการ ไปจนถึงวิธีรักษา ซึ่งโรคนี้รักษาให้หายขาดได้ แต่ทั้งญาติผู้ป่วย รวมทั้งตัวผู้ป่วยเองจะต้องช่วยกันอย่างเต็มที่ ส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในบทความนี้ 


โรควิตกกังวล เกิดจากอะไร

โรควิตกกังวลอันตรายมั้ย

ในปัจจุบันไม่แปลกเลยจะที่พบผู้ป่วยโรคนี้มากขึ้น เพราะว่าความวิตกกังวล เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของความเครียด ความคิดมาก คิดไปก่อนที่มันจะเกิดขึ้น แต่ไม่ผิดที่มนุษย์จะมีความคิดที่เป็นเช่นนั้น แท้จริงแล้วจากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตจะพบว่าคนไทยมากกว่าหนึ่งแสนคนป่วยด้วยโรควิตกกังวล โดยโรคนี้จะมีความกังวลมากกว่าปกติ ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเราในทุกวันนี้ได้ 

สำหรับสาเหตุที่แท้จริงของ โรควิตกกังวล นั้นเกิดจากความผิดปกติทางจิตใจกับความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง โดยอาจจะเกิดจากพันธุกรรมก็ได้ รวมไปถึงเรื่องสภาพแวดล้อมการเลี้ยงดู การเลียนแบบพฤติกรรมจากพ่อแม่ คนใกล้ชิด และเรื่องราวที่ประสบพบเจอด้วยตัวเอง ซึ่งจะก่อให้เกิดโรควิตกกังวล มีหลายประเภท โดยจะแบ่งประเภทของโรควิตกกังวลนี้ออกหลายแบบด้วยกัน เริ่มจากน้อย ไปหาอาการวิตกกังวลที่ค่อนข้างอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น 

มีอีกหนึ่งเหตุผลที่สำคัญว่า ความวิตกกังวล เป็นปฏิกิริยาการตอบสนองต่อความเครียด ที่มีประโยชน์ในบางสถานการณ์ เพราะว่าจะช่วยให้เราตื่นตัว พร้อมกับรับมือปัญหาที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ความกังวลมีความแตกต่างกับการรู้สึกวิตกกังวลแบบทั่วไป เพราะว่าผู้ป่วยจะมีความรู้สึกกังวลเกินเหตุ กลัวจนขาดความมั่นใจ ซึ่งแน่นอนว่ามันจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตอย่างแน่นอน โดยโรคนี้จะมีสาเหตุที่มาจาก 2 ปัจจัยหลักนั่นก็คือ 

  • พันธุกรรม หรือพื้นฐานดั้งเดิม ถ้าหากว่าพ่อแม่นั้นเป็นโรควิตกกังวลอยู่ รุ่นลูกก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้เช่นเดียวกัน หรืออาจจะมีพื้นฐานการไม่กล้าแสดงอารมณ์ พร้อมทั้งสารเคมีในสมองที่ผิดปกติ 
  • สภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู เพราะสำหรับบางคนใช้ชีวิตปกติ แต่ถ้าหากว่าเกิดเหตุการณ์สำคัญ จนทำให้เกิดความกลัว วิตกกังวลมาก แล้วไม่ได้รับการบำบัดที่ถูกต้อง ก็สามารถเป็นโรควิตกกังวลได้ ดังนั้นแล้วจึงจะต้องมองหาทางออกในเรื่องที่วิตกกังวลเอาไว้เสมอ 

แน่นอนเลยว่า โรควิตกกังวลนั้น มีความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากพันธุกรรมได้เช่นเดียวกัน แต่ถ้าพ่อแม่ไม่ได้มีพฤติกรรมที่เป็น ก็อาจจะมีสารสื่อประสาทในสมอง อาจจะมีบางจุดที่ทำงานไม่สมดุล ซึ่งก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ รวมทั้งภาพแวดล้อมในปัจจุบันที่ส่งผลต่อการเกิดโรคนี้เช่นเดียวกัน


ชนิดของโรควิตกกังวล

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการยอมรับจากสังคมแล้วว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหรือผู้ป่วยโรควิตกกังวล คือผู้ป่วยที่ต้องการความรัก ความใส่ใจ ความเห็นค่า จึงทำให้ในปัจจุบันมีผู้ที่ยอมรับตัวเองว่าเป็นโรคนี้มากขึ้น ปรึกษาจิตแพทย์มากขึ้น จนมีทั้งผู้ที่หายขาดจากโรคนี้ หรือผู้ที่ยังเป็นอยู่แต่ส่วนน้อย อีกทั้งผู้ที่ยังไม่ยอมรับตัวเอง ซึ่งการแยกโรควิตกกังวลถูกแบ่งออกเป็น 5 ชนิดด้วยกัน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. โรควิตกกังวลทั่วไป 

โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder) สำหรับในชนิดนี้ จะหมายถึงความกังวลที่มากกว่าปกติในเรื่องทั่วไป ตัวอย่างเช่น เรื่องงาน ครอบครัว สุขภาพ การเรียน โดยผู้ป่วยชนิดนี้ยังจะสามารถระงับความรู้สึกได้ด้วยตัวเอง แต่ถ้าหากว่ายังรู้สึกวิตกกังวลแบบเดิมซ้ำ ๆ มากกว่า 6 เดือนขึ้นไป ก็จะไม่สามารถปรับตัวรับกับสภาพแวดล้อมได้ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความอ่อนเพลีย ความเครียด ไม่มีสมาธิ นอนไม่หลับ หรืออาจจะนอนหลับไม่สนิท ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อร่างกาย จิตใจโดยตรง ซึ่งถ้ารู้สึกมีอาการในลักษณะนี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาในทันที 

2. โรคแพนิค 

สำหรับ โรคแพนิค (Panic Disorder) จะเป็นอีกหนึ่งของความวิตกกังวลโดยไม่มีสาเหตุ เป็นการตื่นตระหนก กลัวว่าจะควบคุมตัวเองไม่ได้ หรือตาย มีอาการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย ก็กลับมีความกังวลอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ป่วยเพียงไข้หวัดก็ตระหนกว่าจะเป็นโรคร้ายอย่างมะเร็ง หรือไข้หวัดระยะสุดท้าย สำหรับอาการของโรคแพนิคนั้นจะเกิดขึ้นเป็นช่วง ๆ มีอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว แน่นหน้าอก เหมือนจะเป็นลม โดยอาการแบบนี้จะทำให้เสียสุขภาพจิตเป็นอย่างมาก ซึ่งอาจจะนำไปสู่ภาวะของโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย สนใจอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ อาการของโรคแพนิค

3. โรคกลัวสังคม

สำหรับ โรคกลัวสังคม (Social Phobia) โรคนี้จะเป็นสถานการณ์ที่จะต้องถูกจ้องมองจากคนหมู่มาก โดยจะรู้สึกประหม่า ไม่มีความมั่นใจ รวมไปถึงการคิดในแง่ลบ มีการนินทาลับหลัง ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันไม่สะดวกเหมือนอย่างเคย มองในเรื่องในแง่ลบ กลัวคนหมู่มาก โดยจะมีอาการหน้าแดง เหงื่อออก คลื่นไส้ หัวใจเต้นเร็ว ปวดหัว แต่ความน่ากลัวของโรคนี้คือ มักจะแฝงอยู่ในบุคคลที่ดูเป็นปกติดี ร่างกายแข็งแรง แต่จะอยู่ที่ทักษะในการเข้าสังคม หรือเป็นที่ถูกจ้องมองมากเกินไปจนรู้สึกเขินอาย จนเกิดเป็นโรคกลัวสังคมได้ 

4. โรคกลัวแบบเฉพาะ 

การกลัวแบบเฉพาะ (Phobia) สำหรับในโรคนี้จะมีความกลัวแค่บางเรื่อง กลัวแบบเฉพาะ ตัวอย่างเช่น กลัวเลือด กลัวรู กลัวสุนัข กลัวความมืด  เป็นต้น ถึงแม้ว่าจะดูว่ากลัวเรื่องที่แปลกประหลาด แต่ก็ไม่สามารถห้ามให้ไม่กลัวได้ พยายามจะต้องหลีกเลี่ยงไม่เจอกับสิ่งที่ตัวเองกลัว โดยผู้ป่วยอาจจะมีอาการทางกายขึ้นมาตัวอย่างเช่น ใจสั่น หน้ามืด ใจสั่น เหงื่อออก ซึ่งโรคนี้จะต้องได้รับความเข้าใจจากคนใกล้ชิด ถ้ามีอาการที่หนักอาจจะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อทำการบำบัดรักษาต่อไป บทความแนะนำ บูลิเมีย กินแล้วล้วงคอหรือโรคกลัวอ้วน อาการโรคทางจิตที่ควรระวัง

5. โรคย้ำคิดย้ำทำ 

โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder) สำหรับโรคชนิดนี้จะมีความวิตกกังวล มีความคิดที่ซ้ำไปมา เกิดพฤติกรรมการตอบสนองต่อเรื่องที่เกิดขึ้นแบบซ้ำ เกิดความกังวลใจ ถึงแม้ว่าอาการแบบนี้จะไม่นับว่าเป็นเรื่องที่รุนแรง หรือส่งผลมากนัก แต่อาจจะทำให้การใช้ชีวิตดูเสียเวลาไปไม่น้อย ตัวอย่างเช่นมีความกังวลเรื่องปิดน้ำหรือยัง ? ปิดไฟหรือยัง ? ไม่สบายใจจนต้องเดินไปดูซ้ำ หรือเดินออกไปแล้วก็ยังกังวลใจอยู่


อันตรายสูงสุดของโรควิตกกังวล

หลังจากที่รู้จักชนิดของโรควิตกกังวลกันไปแล้ว ก็จะมองเห็นถึงอันตรายได้อย่างชัดเจนเลยว่า ผู้ป่วยโรคนี้จะขาดความมั่นใจในตัวเอง อีกทั้งความกลัวที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็อาจจะส่งผลต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต ชีวิต รวมทั้งภาวะที่ขึ้นมาแทรกแซงได้อย่างน่ากลัวเลยก็คือ โรคซึมเศร้า นั่นเอง เพราะความกังวล ความกลัว ความคิดว่าไร้ค่า อาจจะทำให้ผู้ป่วยฆ่าตัวตายได้ หรือในผู้ป่วยบางรายอาจจะไปหันพึ่งสารเสพติด เพื่อลดความเครียด ซึ่งส่งผลเสียมากกว่าที่คิดไว้ 


ผู้ที่ควรรับการตรวจ โรควิตกกังวล 

โรควิตกกังวลอันตรายมั้ย

สำหรับทุกคนที่คิดว่า ความวิตกกังวลในชีวิตการทำงาน ชีวิตครอบครัว ส่งผลให้เกิดความเครียด ความกลัวเล็ก ๆ มองหาทางออกไม่ได้ มีอาการที่รุนแรงขึ้น ยาวนานขึ้น จะต้องรีบไปพบแพทย์ ซึ่งผู้ที่ควรรับการตรวจจะต้องมีอาการดังต่อไปนี้ 

  • รู้สึกกังวลใจ โดยไม่มีสาเหตุ หยุดคิดเรื่องนี้ไม่ได้
  • มีความกังวลใจบ่อยขึ้น จนรบกวนสมาธิการทำงาน
  • มีความกังวลว่าจะสร้างปัญหากับผู้อื่น 
  • รู้สึกหงุดหงิดง่าย ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ หรือควบคุมยาก 
  • นอนหลับยาก นอนไม่หลับ มีความกังวลอยู่ตลอดเวลา
  • มีการทางร่างกายที่แปลก ไม่มีสาเหตุ เช่น ใจสั่น แน่นหน้าอก เหงื่อออก วูบวาบจะเป็นลม 

อาการที่บอกไปข้างต้น อาจจะต้องมีอาการเหล่านี้ต่อเนื่องตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป แต่ถ้าหากว่ามีอาการที่สงสัยว่าจะเป็นโรคนี้อย่างรักษาด้วยตัวเองไม่ได้ จะต้องหาทางออกด้วยการพบแพทย์ตั้งแต่ในช่วงแรก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะอื่นเข้ามาแทรกซ้อนได้ เช่น โรคซึมเศร้า เพราะถ้าเป็นไปแล้วจะรักษายากขึ้นมากกว่าเดิมนั่นเอง หรือ วิธีรับมือกับไบโพล่าร์ โรคที่อาจเกิดขึ้นได้


4 เหตุผลที่ต้องตรวจโรควิตกกังวล 

โรควิตกกังวลอันตรายมั้ย แน่นอนว่า โรควิตกกังวล จะต้องมีการรักษาพร้อมรับการตรวจอย่างถูกต้อง ถูกวิธี ด้วยเหตุผลในเรื่องของการหายขาด ไม่กลับมาเป็นอีก ก็จะอยู่ที่สภาพแวดล้อม รวมทั้งตัวของผู้ป่วยเองด้วย โดยมีเหตุผลที่ว่าทำไมจึงต้องตรวจโรควิตกกังวลดังต่อไปนี้ 

  • ต้องตรวจเพราะภูมิคุ้มกันของร่างกายอาจลดต่ำลงได้ ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายเจ็บป่วย หรือติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่าย พร้อมทั้งเกิดโรคต่าง ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น โรคหลอดเลือด โรคติดเชื้อ 
  • การตรวจรักษา จะทำให้สามารถหาทางออกให้กับโรคนี้ได้ โดยไม่ต้องพึ่งสารเสพติดเพื่อลดความเครียด หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ เพราะสิ่งเหล่านี้จะให้โทษแก่ร่างกายแทน
  • ถ้าไม่ได้รับการตรวจรักษา อาจจะเป็นภาวะโรคซึมเศร้าที่เข้ามาแทนได้ ซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายจิตใจมากขึ้น เช่น นอนไม่หลับ ขาดสมาธิ เป็นต้น 
  • เหตุผลสุดท้ายที่พบเจอได้บ่อยมาก คือ การฆ่าตัวตาย เพราะภาวะซึมเศร้าที่เข้ามา ทำให้คิดสั้นได้โดยง่าย รู้สึกไร้ค่า หม่นหมอง ไร้ความมั่นใจ 

ดังนั้นแล้วการตรวจโรคนี้ จะต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือจิตแพทย์เท่านั้น ผู้ที่ต้องการรับการตรวจโรคนี้สามารถติดต่อได้ที่โรงพยาบาล หรือคลินิกที่สะดวก ซึ่งแพทย์จะมีการสอบถามประวัติ อาการที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งจะมีการตรวจทั้งภายนอก รวมไปถึงการตรวจเลือดเพื่อประเมินร่างกายว่าเป็นโรคอื่นแทรกซ้อนด้วยหรือไม่ 


4 ขั้นตอนการตรวจโรควิตกกังวล

1. จะมีการสอบถามประวัติทางการแพทย์ที่จำเป็น เช่น อาการที่เกิดขึ้น ความเจ็บป่วย โรคประจำตัว พร้อมทั้งประเมินอาการเบื้องต้นเกี่ยวกับสาเหตุที่เกิดโรคนี้ เพื่อคัดกรอง 

2. สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการทางร่างกายร่วมด้วย จะมีการตรวจร่างกายด้วย ตัวอย่างเช่น ตรวจสมรรถภาพปอด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจเลือด เป็นต้น เพื่อประเมินว่ามาจากโรคใด หรือมีการจากสารเสพติด หรือยา และ แอลกอฮอล์หรือไม่ 

3. แพทย์จะทำการส่งตัวผู้รับการตรวจ ไปพบกับจิตแพทย์ เพื่อทำการตรวจเพิ่มเติม ซึ่งจะเป็นการพูดคุย สัมภาษณ์ หรือการใช้เครื่องมือการประเมินทางจิตเวชช่วยต่อไป เพื่อให้มั่นใจว่าผู้รับการตรวจนั้นป่วยเป็นโรควิตกกังวล

4. ขั้นตอนสุดท้าย แพทย์จะทำการประเมินผล รวมทั้งวางแผนการรักษาตามระยะอาการ ซึ่งจะมากหรือจะน้อยก็อยู่ที่ดุลยพินิจของแพทย์  


การรักษาโรควิตกกังวล

โรควิตกกังวลอันตรายมั้ย

วิธีการรักษาในเบื้องต้น  การรักษานั้นจะต้องเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลรัฐบาลหรือเอกชนก็สามารถทำได้ โดยที่แผนกจิตเวชของโรงพยาบาล ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประเภทของโรคที่เป็น ร่วมกับสาเหตุของความวิตกกังวล ที่เกิดขึ้นของแต่ละคน โดยแพทย์จะมีการรักษาดังต่อไปนี้ 

การรักษาด้วยยา

สำหรับการรักษาด้วยยา จะมีหลายกลุ่มที่สามารถช่วยควบคุม รวมทั้ง บรรเทาอาการวิตกกังวลได้ โดยจะขึ้นอยู่กับอาการของผู้รับการรักษา รวมทั้งดุลยพินิจของแพทย์ ซึ่งยาที่ใช้โดยทั่วไปจะได้แก่ 

  • ยาสำหรับอาการวิตกกังวล ตัวอย่างเช่น ยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepine: BZD) เช่น ยาอัลปราโซแลม และยาโคลนาซีแพม จะเป็นยาที่ช่วยลดความวิตกกังวล ใช้ในโรควิตกังวลทั่วไป หรือผู้ที่มีปัญหาในการนอนไม่หลับร่วมด้วย 
  • ใช้การรักษา โดยตัวยารักษาอาการซึมเศร้า ตัวอย่างเช่น ยากลุ่มเอสเอสอาร์ไอ (SSRI) ซึ่งจะเป็นยากลุ่มที่ใช้รักษาอาการวิตกกังวลได้ เช่นเดียวกับการรักษาอาการซึมเศร้า 
  • ใช้ยาที่ช่วยควบคุมอาการทางร่างกาย ตัวอย่างเช่น ยาเบต้า บล็อกเกอร์ เช่น ยาโพรพราโนลอล โดยจะใช้เมื่อมีความวิตกกังวล รวมทั้งเกิดอาการทางกาย 
  • ใช้ยาอื่น ๆ ตามที่แพทย์สั่งตามอาการ เช่น ยาระงับอาการทางจิต และยารักษาโรคลมชัก เป็นต้น 

การรักษาด้วยจิตบำบัด

ผู้ที่ป่วยเป็นโรควิตกกังวลนั้นจำเป็นมากที่จะต้องเข้ารีบการรักษาจากนักจิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัด ซึ่งรูปแบบของการรักษานั้นจะแตกต่างกันไปตามอาการของผู้เข้ารับการรักษาของแต่ละราย แต่จะมีจุดหมายเดียวกันก็คือ อยากให้ผู้เข้ารับการรักษาเข้าใจความคิด รวมทั้งอารมณ์ของตัวเอง จนสามารถควบคุม พร้อมทั้งจัดการกับความเครียดของตัวเองได้อย่างเหมาะสม 

ซึ่งวิธีจิตบำบัดนั้น จะมีอีกหนึ่งวิธีที่นิยมใช้กับผู้ป่วยโรควิตกกังวล นั่นก็คือ การบำบัดด้วยการปรับความคิด และพฤติกรรม ซึ่งจะเป็นการบำบัดในระยะสั้น แต่จะมีทั้งการรักษาแบบเดี่ยว รวมทั้งแบบเป็นกลุ่มด้วย โดยเป็นการบำบัดที่จะทำให้ผู้เข้ารับการบำบัดเข้าใจตนเองมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถระบุ แยกแยะได้ถึงความคิดเชิงลบกับเชิงบวก จัดการกับความรู้สึกกังวล หรือแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมนั้นไม่ดีขึ้น โดยใช้เวลาครั้งละเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น แต่ทำต่อเนื่อง 10-15 สัปดาห์ แต่สำหรับบางคนอาจจะช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละคน 

การดูแลตัวเองของผู้ป่วย

หลังจากที่ผู้ป่วยโรควิตกกังวลนั้น เข้ารับการรักษาจากแพทย์แล้วนั้น ก็ควรจะที่จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ตามแนวทางการบำบัดรักษา ทานยาตามที่แพทย์สั่งให้ครบถ้วน ตรงเวลา พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอต่อความต้องการ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสารเสพติด ผู้ป่วยจะต้องมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเสริมเอาไว้ในนาฬิกาชีวิตสัก 30 นาทีต่อวัน รวมทั้งจะต้องพูดคุยกับครอบครัว หรือเพื่อนสนิท มองหากิจกรรมที่ผ่อนคลาย หลีกเลี่ยงการพบเจอ หรือสถานที่ที่ทำให้เกิดความเครียด และที่สำคัญยาสมุนไพรบางชนิด อาจจะก่อให้เกิดความวิตกกังวลได้ หากต้องการที่จะซื้อ ก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง  

การป้องกันโรควิตกกังวล

การป้องกัน โรควิตกกังวล ต้องบอกเลยว่าสามารถทำได้ค่อนข้างยากเลยทีเดียว เพราะว่ามีปัจจัยหลายอย่างมากที่มีโอกาสทำให้คนเรานั้นกลายเป็นคนที่กังวลหรือกลัวได้ แต่ทว่าสามารถลดความเสี่ยงได้ ตัวอย่างเช่น การใช้ชีวิตที่เป็นปกติ มีการทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ที่สำคัญจะต้องมีสติ รู้ถึงอารมณ์ของตัวเอง รู้จักการกำจัดความเครียดของตัวเองได้ เมื่อรู้สึกเครียดจะต้องมีวิธีคลายเครียดหรือผ่อนคลาย เช่น ดูหนัง ฟังเพลง หรือทำในสิ่งที่สบายใจ จะช่วยให้คุณกลายเป็นคนที่สามารถจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้ดีเลยทีเดียว 


สำหรับเรื่องราวทั้งหมดนี้ เชื่อว่าผู้อ่านจะเข้าใจเกี่ยวกับ “โรควิตกกังวล” ไขข้อสงสัย โรควิตกกังวลอันตรายมั้ย กันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแน่นอนเลยว่ามันคือโรคที่ทุกคนเป็นได้ ไม่ว่าจะเป็นความกังวลทั่วไปแบบเล็กน้อย การกลัวแบบเฉพาะจุด การขาดความมั่นใจ อย่ามองว่ามันคือเรื่องเล็ก เพราะอาจจะทำให้คุณกลายเป็นโรคซึมเศร้า พร้อมกับปัญหาทางจิตในที่สุด สำหรับคนที่กลัวของแปลก ๆ ก็ขอให้คนใกล้ชิดเข้าใจในความกลัว อย่าไปตอกย้ำ หรือกลั่นแกล้ง เพราะจะยิ่งทำให้อาการที่เป็นอยู่หนักขึ้น จนกลายเป็นโรคแพนิคขั้นรุนแรง ที่อาจจะส่งผลถึงสภาพจิตใจได้

ใครที่กำลังเป็นโรคนี้อยู่ก็รักษาได้ไม่ยาก แต่จะต้องใช้ความอดทน ความมีวินัย ทั้งเรื่องของการบำบัดโดยการใช้ยา การบำบัดโดยสุขภาพจิต อีกทั้งผู้ป่วยเองก็จะต้องเปลี่ยนแนวความคิด พร้อมปล่อยวางเรื่องที่ไม่ควรที่จะเก็บมาคิด เมื่อหายแล้วก็ควรจะต้องปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตใหม่ ให้ลดความเครียดน้อยที่สุด เพื่อรักษาสุขภาพให้ยั่งยืน พร้อมกับใช้ชีวิตให้มีความสุขตลอด 


อ้างอิง