ปวดหัวนอนไม่หลับ ส่งผลต่อร่างกายมากกว่าที่คิด

เนื้อหาบทความ

อาการปวดหัวมีอยู่หลายแบบด้วยกัน บางครั้งอาการปวดหัวเกิดขึ้นระยะเวลาสั้น ๆ แล้วก็หายไป ซึ่งอาการปวดหัวแบบนี้ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่อาการปวดหัวบางอย่างก็มีความรุนแรงถึงขั้นที่ ปวดหัวนอนไม่หลับ ซึ่งอาการนอนไม่หลับถือเป็นอาการที่ส่งผลเสียต่อร่างกายสูงมาก หากคุณมีอาการปวดหัวจนนอนไม่หลับจะต้องทำการรักษาอย่างเร่งด่วน 


สาเหตุที่ทำให้ ปวดหัวนอนไม่หลับ

ปวดหัวนอนไม่หลับ

อาการปวดหัวที่พบในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกับนับร้อยประเภท ซึ่งสาเหตุของอาการปวดหัวที่เกิดขึ้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ 

  1. อาการปวดศีรษะแบบปฐมภูมิ  คือ อาการปวดหัวที่เกิดจากการที่สมองทำงานผิดปกติหรือสมองทำงานหนักจึงทำให้เกิดอาการปวดหัวขึ้น เช่น ปวดศีรษะจากไมเกรน ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ ปวดศีรษะจากความเครียด ปวดศีรษะจากการใช้ชีวิต การดื่มแอลกอฮอล์ การออกกำลังกายมากเกินไป เป็นต้น อาการปวดศีรษะแบบปฐมภูมิส่วนมากจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่อาการปวดจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
  2. อาการปวดศีรษะแบบทุติยภูมิ คือ อาการปวดหัวที่เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างที่ศีรษะ คอหรือความผิดปกติในสมอง เช่น เนื้องอกในสมอง หลอดเลือดอุดตันในสมอง เป็นต้น หรือความผิดปกติของกระดูกสันหลัง ซึ่งอาการปวดหัวแบบทุติยภูมินี้จะมีอันตรายถึงชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษา 

อาการปวดหัวไม่ว่าจะมีสาเหตุแบบปฐมภูมิเป็นอาการปวดหัวที่พบได้บ่อยและมีอันตรายน้อย แต่หากปล่อยให้มีอาการปวดบ่อย ๆ โดยไม่ได้ทำการรักษา โอกาสที่อาการปวดหัวจะมีความรุนแรงจนทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับย่อมเกิดขึ้นได้ หรืออาจทำให้เกิด โรคเรื้อรัง ขึ้นได้ ดังนั้นเมื่อมีอาการปวดหัวเกิดขึ้นเป็นประจำ ควรรีบสาเหตุที่แท้จริงเพื่อที่จะได้รักษาให้หายก่อนที่จะเป็นอันตรายร้ายแรงได้


อันตรายจากการนอนแบบผิดปกติ

ปวดหัวนอนไม่หลับ

การนอนเป็นการพักผ่อนร่างกายที่ดีที่สุด ดังนั้นหากร่างกายมีการนอนที่ผิดปกติ ย่อมส่งผลเสียต่อร่างกาย ซึ่งอันตรายจากการนอนแบบผิดปกติ เนื่องจากอาการปวดหัว นอนไม่หลับจะมีอันตรายดังนี้

  • ตัดสินใจช้าลง ผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับหรือพักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้อัตราการตัดสินใจช้าลง เนื่องจากสมองมีระดับการส่งสัญญาณที่ช้าลง หากต้องทำงานในพื้นที่เสี่ยงอันตรายหรืองานที่ต้องใช้การตัดสินในระยะเวลาสั้น ๆ จะทำให้เกิดความผิดพลาดในการทำงานได้ หากอยู่ในช่วงวัยเรียนรู้จะทำให้การเรียนรู้ช้ากว่าเด็กที่ได้รับการนอนอย่างเพียงพอ 
  • อ้วนง่าย ช่วงระยะเวลาการนอนหลับเป็นช่วงที่ระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกายมีการดึงไขมันมาใช้เป็นพลังงานในการซ่อมแซมและฟื้นฟูเซลล์ของร่างกายให้มีสภาพที่ดีขึ้น แต่ถ้าร่างกายไม่ได้นอนหลับเพียงพอหรือมีการนอนที่ผิดปกติ ระบบเผาผลาญจะไม่สามารถทำงานได้หรือทำงานได้น้อยมาก ทำให้มีปริมาณไขมันสะสมในร่างกายเพิ่มมากขึ้น หากมีอาการนอนผิดปกติต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานก็จะทำให้เป็นโรคอ้วนได้
  • เสี่ยงโรคร้ายแรง เนื่องจากปริมาณไขมันในร่างกายสูง ทำให้ไขมันไปสะสมและอุดตันตามอวัยวะของร่างกายมากขึ้น จึงทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคร้ายแรงหลายชนิด เช่น ไขมันอุดตันเส้นเลือด ไขมันอุดตันหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าผู้ที่นอนแบบปกติ 
  • เกิดภาวะซึมเศร้า การนอนผิดปกติจะทำให้สมองมีการทำงานที่ช้าลงและอัตราฮอร์โมนภายในร่างกายเกิดความสับสน มีความผิดปกติของการหลั่งสารเคมีในสมองส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์ ส่งผลให้เกิด ภาวะซึมเศร้า ได้ ทำให้การดำเนินชีวิตผิดปกติ มองโลกในแง่ลบ หม่นหมอง หดหู่ เก็บเนื้อเก็บตัวและพยายามฆ่าตัวตายเมื่อมีภาวะซึมเศร้าขั้นรุนแรง 

จะเห็นว่าอันตรายจากการนอนแบบผิดปกตินั้น มีอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นเมื่อรู้สึกว่าการนอนเริ่มมีความผิดปกติหรือมีอาการปวดหัว นอนไม่หลับจึงควรรีบสาเหตุหรือไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา 


วิธีช่วยบรรเทาอาการปวดหัวนอนไม่หลับ

การปวดหัวนอนไม่หลับเป็นอาการที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายและมีผลกระทบต่อคุณภาพการนอนหลับ ต่อไปนี้เป็นวิธีการช่วยบรรเทาอาการปวดหัวนอนไม่หลับ ได้แก่

  1. ใช้น้ำมันหอมระเหยกลิ่นต่าง ๆ เช่น ส้ม, ลาเวนเดอร์, มินต์ หรือชาเขียว เพื่อปรับปรุงระบบประสาทส่วนกลางและช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย
  2. ควรนอนหลับในที่ที่มืด อากาศโปร่ง เย็นสบาย และเงียบสงบ เพื่อช่วยลดระดับเสียงและแสงที่ส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ
  3. ใช้เทคนิคการหายใจลึก ๆ เพื่อช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และลดความเครียดที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหัว
  4. การทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย เช่น การฝึกโยคะ การอ่านหนังสือ หรือการฟังเพลง เป็นต้น
  5. หากอาการการปวดหัวเป็นรุนแรงมากและไม่ดีขึ้นด้วยวิธีการบรรเทาอาการแบบธรรมชาติ ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาแบบที่เหมาะสม ซึ่งผู้ป่วยไม่ควรใช้ยาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน
  1. การนวดบริเวณศีรษะและคอโดยผู้เชี่ยวชาญ อาจช่วยในการบรรเทาอาการปวดหัว และช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อในบริเวณนั้น
  2. เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผักและผลไม้ และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันโดยการรับประทานอาหารที่มีวิตามินและแร่ธาตุเพียงพอ
  3. การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ช่วยลดความเครียดและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน แต่ควรระมัดระวังในการเลือกประเภทและระดับความหนักของการออกกำลังกาย เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อสุขภาพทั่วไป
  4. ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจทำให้เกิดอาการปวดหัว เช่น หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะสิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการปวดหัว
  5. พยายามผ่อนคลายสุขภาพจิต เช่น การฟังเสียงที่ช่วยผ่อนคลาย ใช้แอปพลิเคชันที่ช่วยในการนอนหลับ เป็นต้น อาจช่วยลดความวิตกกังวลและปรับสมดุลในร่างกาย

การปวดหัวนอนไม่หลับเป็นอาการที่สามารถบรรเทาได้ด้วยวิธีการบริหารจัดการต่าง ๆ แต่หากอาการไม่ดีขึ้นหรือเป็นรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม


ปวดหัว นอนไม่หลับ แบบใดควรรีบไปพบแพทย์

ปวดหัวนอนไม่หลับ

อาการปวดหัว นอนไม่หลับเป็นอาการที่หลายคนไม่ค่อยให้ความสนใจ เพราะคิดว่าเป็นอาการที่เป็นไม่นานก็จะหายไป ทว่าหลายคนปล่อยทิ้งจนอาการอยู่ในขั้นรุนแรง ทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคร้ายแรงหรือเป็นอันตรายขั้นรุนแรง ทำให้ร่างกายเกิดความเสื่อมโทรมต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงมากขึ้น ดังนั้นมาดูกันว่าอาการปวดหัว นอนไม่หลับแบบใดที่ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา

  1. ปวดหัวต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน สำหรับคนที่ปวดหัวจนนอนไม่หลับ ติดต่อกันมากกว่า 3-5 วัน หรือนอนน้อยกว่า 3-5 ชั่วโมงต่อวันมากกว่า 5 -7 วัน
  2. ปวดหัวรุนแรง อาการปวดหัวมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยสามารถสังเกตได้จากการกินยา หากช่วงแรกที่ปวดหัว เมื่อกินยาแล้วหาย ต่อมาเมื่อมีอาการปวดหัวอีก แต่การกินยาไม่ช่วยให้อาการปวดหายไปได้ แสดงว่าอาการปวดหัวมีความรุนแรงมากขึ้น หรือปวดหัวตลอดเวลา แบบนี้ต้องไปพบแพทย์
  3. มีไข้ การปวดหัวร่วมกับอาการมีไข้ แสดงว่าร่างกายมีความผิดปกติ อาจมีการติดเชื้อร่วมด้วย 
  4. มีอาการชักกระตุก เวลาปวดหัวมีอาการชักเกร็ง กล้ามเนื้อกระตุกหรือเดินเซไม่สามารถทรงตัวได้ 
  5. ตาพร่ามัว มีอาการตาพร่ามัว ตาแดงหรือมองเห็นไม่ชัดเกิดขึ้นระหว่างที่มีอาการปวดหัว 

หากมีอาการปวดหัวร่วมกับอาการที่กล่าวมาข้างต้น แสดงว่าอาการปวดหัวของคุณอาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคร้ายแรงได้ ดังนั้นหากปวดหัวและมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที ถึงแม้อาการปวดหัวจะเป็นอาการป่วยที่พบได้บ่อยและเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ เพราะแค่เครียดก็ปวดหัวแล้ว แต่ว่าเราต้องสังเกตอาการให้ดีว่าอาการปวดหัวที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงมากหรือน้อย เกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน หากรุนแรงเพิ่มขึ้นและเกิดขึ้นบ่อยขึ้นจนถึงขั้น ปวดหัวนอนไม่หลับ ต้องทำการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะอาการปวดหัวอาจเป็นอันตรายมากกว่าที่คุณคิด


อ้างอิง