เครียดแล้วท้องผูก ถ่ายไม่ออก รู้ไหม? ความเครียด ซึมเศร้า มีผลต่อลำไส้!

เนื้อหาบทความ

ทำไมเครียดแล้วท้องผูก ถ่ายไม่ออก แล้วยาแก้ซึมเศร้าแก้ท้องผูกจริงหรือ?

การติดต่อระหว่างลำไส้กับสมองใกล้ชิดกันอย่างยิ่ง และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน ภาษิตอเมริกันกล่าวว่า “Butterflies in my Stomach” หมายความว่า เวลาที่เครียดหรือตื่นเต้นจะรู้สึกเหมือนมีผีเสื้อบินว่อนอยู่ในท้อง เมื่อเราตื่นเต้น ประสาทซิมพาเทติกจะตื่นตัว ทำให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลง น้ำย่อยมีปริมาณลดลง และถ่ายอุจจาระไม่คล่อง นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเครียดแล้วท้องผูก ถ่ายไม่ออก  ถ้าอยู่ในภาวะตึงเครียดนานๆ โรคภัยเกี่ยวกับลำไส้จะปรากฏออกมา ที่เด่นชัดที่สุดคือ อาการลำไส้แปรปรวน เมื่อตื่นเต้นหรือเครียด เราจะปวดท้องและวิ่งหาห้องน้ำ โรคลำไส้แปรปรวนไม่ใช่โรคติดต่อและไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ทำให้ชีวิตยุ่งยากมาก ถ้าอาการหนักอาจถึงขั้นออกจากบ้านไม่ได้ อีกปัจจัยที่มีผลคือสุขภาพจิต ภาวะ เครียด ซึมเศร้า เช่น แรงกดดันจากจิตใจในวัยเด็กมีผลอย่างชัดเจนต่อสมรรถภาพของลำไส้ และอาจกระทบต่อการการทำงานของลำไส้ โดยผู้ป่วยโรคลำไส้เรื้อรังกว่าร้อยละ 70 มักผ่านความเศร้าโศกจากการจากไปของผู้ใกล้ชิด ลองเช็กอาการ คุณเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า?

ทำไมเครียดแล้วท้องผูก ถ่ายไม่ออก

เมื่อพูดถึงปัญหาสุขภาพจิต เช่น ความเครียด ซึมเศร้าแล้ว  เรามักนึกถึงสารเซโรโทนิน (serotonin) ที่ได้รับการขนานนามว่า “สารสร้างความสุข” เซโรโทนินเกี่ยวข้องกับการปรับอารมณ์ถ้าร่างกายหลั่งสารเซโรโทนินน้อยเกินไป หรือทำหน้าที่ไม่ดี ล้วนก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าได้  ทั้งนี้ เซโรโทนินผลิตโดยลำไส้เป็นหลัก  เพราะช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ และมีผลต่อสมอง การปรับอารมณ์ การนอน ความอยากอาหาร การเรียนรู้ และการจดจำ ถ้าเซโรโทนินในกระแสเลือดต่ำเกินไปจะรู้สึกซึมเศร้า และปวดท้อง เมื่อคุณกินยาแก้ซึมเศร้า เช่น ยาโพรแซก (Prozac) จะทำให้อารมณ์ดีขึ้นและสบายท้อง ทั้งนี้เพราะโพรแซกทำให้เซโรโทนินในเลือดเข้มข้นขึ้น กล่าวได้ว่ายาแก้ซึมเศร้าบางชนิดมีส่วนช่วยแก้ท้องผูก

ซึ่งก็หมายความว่า ยาแก้ซึมเศร้าไม่ได้มีผลต่อสมอง แต่มีผลต่อลำไส้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้คุณใช้ยาแก้ซึมเศร้ามารับประทานเพื่อแก้อาการท้องผูก ถ่ายไม่ออกนะ! เพราะในทางกลับกัน ยารักษาอาการซึมเศร้า ยาระงับอาการทางจิตบางชนิดอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการท้องผูกขึ้นได้เช่นกัน

แนะนำบทความที่น่าสนใจ โรคมือเท้าปาก ที่เป็นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่


เครียด ซึมเศร้า ยังไม่พอ! มีปัจจัยอีกมากส่งผลต่อการท้องผูก ถ่ายไม่ออก

ปัญหาท้องผูก เป็นหนึ่งในปัญหากวนใจต่อสุขภาพของทุกเพศและทุกวัย โดยเน้นที่วัยผู้สูงอายุจะพบว่า ปัญหาภาวะท้องผูก มีอัตราสูงถึง 80% เลยทีเดียว โดยนอกจากความ เครียด ซึมเศร้า แล้วทำให้ท้องผูกหรือเครียดแล้วถ่ายไม่ออก ที่เรียกได้ว่าจัดเป็นอันดับแรกของปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาท้องผูกแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก เช่น ปัญหาของคนทำงานเพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในเรื่องการรับประทานอาหาร ปัญหาแวดล้อมต่างๆ แถมยังขาดการออกกำลังกาย สิ่งเหล่านี้ย่อมกระทบต่อการทำงานของระบบขับถ่ายในร่างกายโดยตรงจนก่อให้เกิดปัญหาท้องผูก นอกจากปัจจัยที่ยกตัวอย่างแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่ออาการท้องผูก ถ่ายไม่ออก อีกมากมาย มีรายละเอียดดังนี้

เครียด ซึมเศร้ายังไม่พอ! มีปัจจัยอีกมากส่งผลต่อการท้องผูก ถ่ายไม่ออก

1. พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันบางอย่าง

รวมถึงปัจจัยบางประการที่เอื้อต่อการเกิดอาการท้องผูกได้ง่ายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น

  • การอั้นอุจจาระ ทำให้อุจจาระเก่าๆ ที่คุณกลั้นไว้ก็จะถูกดูดน้ำออกไปทุกวันๆ ทำให้มันเป็นก้อนแข็ง อุดตันปิดกั้นการเคลื่อนตัวของของเสียในลำไส้ จึงทำให้ท้องผูกถ่ายลำบาก
  • รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย เพราะอาหารที่มีเส้นใยมากๆ จะเป็นเหมือนไม้กวาดที่เข้าไปกวาดล้างของเก่าหมักหมมให้สลายตัวออกไปจากลำไส้ของคุณ ร่างกายต้องการเส้นใยวันละ 20-25 กรัม
  • มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย ขาดการออกกำลังกาย เพราะการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องจะทำให้กล้ามเนื้อลำไส้บีบตัวและเกิดการขับถ่ายของเสียออกมา คนที่นั่งหรือนอนทั้งวัน โอกาสที่ระบบขับถ่ายจะทำงานได้ดีก็ยาก
  • น้ำหนักตัวมากหรือน้อยเกินไป
  • ดื่มน้ำน้อย เพราะน้ำมีบทบาทสำคัญช่วยให้อุจจาระอ่อนตัวและขับเคลื่อนออกจากลำไส้ได้อย่างง่าย
  • ความเครียดหรือความกดดัน เมื่อเกิดความเครียด ลำไส้จะหยุดบีบตัวชั่วคราว ทำให้เบื่ออาหารพร้อมกับถ่ายไม่ออก รวมถึงอยู่ในภาวะของ โรควิตกกังวล
  • ปัญหาทางด้านจิตใจ รวมถึงปัญหาสุขภาพจิตบางประเภท
  • มีภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ เมื่อปริมาณน้ำในร่างกายไม่เพียงพอ อุจจาระเลยแข็ง ขับถ่ายลำบาก
  • อยู่ในวัยผู้สูงอายุ และเพศหญิง โดยผู้หญิงมักมีปัญหาท้องผูกมากกว่าผู้ชาย

2. การอุดตันภายในลำไส้จากสภาวะบางอย่าง

สภาวะบางอย่างที่ก่อให้เกิดการอุดตันภายในลำไส้ใหญ่หรือบริเวณทวารหนักอาจทำให้อุจจาระเคลื่อนตัวออกจากระบบทางเดินอาหารได้ลำบากหรือติดค้างอยู่ภายในลำไส้ เช่น แผลปริขอบทวารหนัก ลำไส้อุดตัน มะเร็งลำไส้ใหญ่ ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน เป็นต้น

3. โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ

ความผิดปกติจากโรคทางด้านระบบประสาทสามารถส่งผลต่อการบีบตัวของกล้ามเนื้อลำไส้ใหญ่และทวารหนัก จึงอาจส่งผลให้เกิดการตกค้างของอุจจาระภายในระบบทางเดินอาหารและอาจนำไปสู่อาการท้องผูกได้ เช่น เส้นประสาทถูกทำลายจากโรคเบาหวาน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหรือโรคเอมเอส โรคพาร์กินสัน เส้นประสาทไขสันหลังบาดเจ็บ รวมถึงโรคหลอดเลือดในสมอง

4. สภาวะทางร่างกายที่ส่งผลต่อฮอร์โมน

ฮอร์โมนช่วยให้ของเหลวและการทำงานภายในร่างกายเกิดความสมดุล ดังนั้นการเกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารหรือสภาวะบางอย่างที่ทำให้ฮอร์โมนเกิดความผิดปกติขึ้น ซึ่งอาจทำให้ฮอร์โมนเสียสมดุลในการทำงาน สามารถนำไปสู่อาการท้องผูกได้ เช่น โรคเบาหวาน การตั้งครรภ์ ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ หรือโรคลำไส้แปรปรวน

5. ระบบการเผาผลาญพลังงาน

เมื่ออยู่ในภาวะเครียดและซึมเศร้าอาจส่งผลให้ระบบการเผาผลาญพลังงานในร่างกายเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจส่งผลให้การทำงานของลำไส้หรือการย่อยอาหารลดลง และเกิดปัญหาท้องผูกได้

6. การใช้ยา

การรับประทานยาบางชนิดอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงเป็นอาการท้องผูกขึ้นได้ เช่น ยาลดกรดที่มีส่วนผสมของสารประกอบอลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ ยารักษาอาการซึมเศร้า ยาระงับอาการทางจิต ยารักษาอาการชัก อาหารเสริมกลุ่มแคลเซียมและธาตุเหล็ก ยาระงับปวดชนิดโอปิออยด์ ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น รวมถึงการรับประทานทานยาระบายบ่อยครั้ง เพราะการใช้สารแปลกปลอมเข้าไปช่วยในการระบาย จะไปสร้างความเคยชินให้กับลำไส้ ทำให้หยุดทำงานตามปกติ และจะบีบตัวขับถ่ายอุจจาระก็ต่อเมื่อกินยาเข้าไปกระตุ้นเท่านั้น คนที่ใช้ยาถ่ายติดต่อกันนานๆ จึงจะมีปัญหาท้องผูก ถ่ายเองไม่ได้ถ้าไม่ได้รับประทานยาระบาย

การจัดการกับเครียดและซึมเศร้าอาจช่วยลดอาการท้องผูกได้ เช่น การปรับเปลี่ยนรูปแบบการออกกำลังกาย การนอนพักผ่อนเพียงพอ การดูแลสุขภาพจิต การรับประทานอาหารที่เหมาะสมและมีใยอาหารเพียงพอ เช่น ผักใบเขียว ผลไม้ และอาหารที่มีประโยชน์ การดูแลสุขภาพจิต เช่น การฝึกสมาธิ การทำโยคะ หรือการพักผ่อนอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ควรพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อให้ได้คำแนะนำและการรักษาที่เหมาะสมสำหรับสภาวะเครียดและซึมเศร้า อย่างไรก็ตาม หากคุณพบว่าคุณมีอาการท้องผูกที่รุนแรงหรือยาวนาน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง


อ้างอิง